เมนู

ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ราคะ มานะ ความปรารถนา สุขทางกาย
ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่มานะ แก่ความ
ปรารถนา แก่สุขทางกาย ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. ปรามาสวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
เพราะอาศัยศรัทธา ราคะที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ ความปรารถนา ศรัทธา ฯลฯ
เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม แก่ความปราถนา
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[716] 1. ปรามาสวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ แล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ
ที่เป็นปรามาสวิปปยุตตธรรม วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรามาสวิปปยุตตธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. ปรามาสวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรามาสสัมปยุตตธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[717] 1. ปรามาสสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ